วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

คิดบวก


  • คิดบวก

    มนุษย์ เราสามารถสร้างนิสัยคิดบวกได้พอๆ กับนิสัยคิดลบ แต่นิสัยคิดลบเกิดได้ง่ายกว่า เพราะต่างทำกันเป็นประจำอยู่แล้ว ฉะนั้น ลองทำตามวิธีต่อไปนี้ดูนะคะ เพื่อสร้างนิสัยคิดในด้านดี และขจัดความคิดด้านร้ายให้หมดไป

    วิธีการฝึกคิดบวกนั้นไม่ยาก ลองดู 12 ขั้นตอนง่ายๆ ต่อไปนี้
    1. ให้มองไปข้างหน้า อย่ามองย้อนหลัง ทุกคนเคยทำผิดมาแล้วทั้งนั้น แต่ต้องไม่จมอยู่กับอดีตที่ผิดพลาด เพราะชีวิตต้องดำเนินต่อไป จงวางเป้าหมายเล็กๆที่เป็นไปได้ และพยายามทำให้สำเร็จ
    2. รู้จักให้อภัยตัวเองและผู้อื่น สำหรับคนส่วนใหญ่แล้ว เรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิต เป็นผลพวงมาจากการกระทำของตนเองทั้งสิ้น ในบางครั้งบางคราว เราต่างตัดสินใจผิดพลาด แต่เมื่อรู้สำนึกแล้ว ก็ต้องปล่อยให้มันผ่านไป เรียกว่าเป็นการให้อภัย และต้องให้อภัยตัวเองเมื่อทำผิดพลาด เพื่อที่จะเดินหน้าต่อไป รวมทั้งใช้ความผิดพลาดจากอดีตเป็นบทเรียน เพื่อก้าวย่างที่ดีกว่าในอนาคต
    3. ถ้าแก้วมีน้ำแค่ครึ่งเดียว จงเติมให้เต็มแก้ว การมองว่า มีน้ำเหลืออยู่ครึ่งแก้ว หรือน้ำหายไปครึ่งแก้วนั้น ถูกทั้ง 2 อย่าง อยู่ที่ว่าผู้มองเป็นคนมองโลกในแง่ดีหรือร้าย และไม่ผิดอะไรที่คุณจะเติมน้ำให้เต็มแก้ว
    4. มองหาบุคคลต้นแบบ ทุกคนควรมีบุคคลต้นแบบที่เป็นแรงบันดาลใจ คนคนนั้นอาจเป็นผู้ที่เอาชนะอุปสรรคใหญ่ๆได้สำเร็จ และประสบความสำเร็จอย่างงดงามในที่สุด หรือเป็นผู้ที่ทำงานหนักและสัมฤทธิ์ผล จงเอาคนนั้นเป็นแรงบันดาลใจในการดำเนินชีวิต
    5. พาตัวเองเข้าไปอยู่ในแวดวงของคนที่ประสบความสำเร็จและมอง โลกในแง่ดี มันเป็นเรื่องมหัศจรรยู์ที่พลังอำนาจของคนอื่น สามารถส่งผลกระทบต่อพลังในตัวเราได้ คนที่คิดในด้านบวกจะช่วยกระตุ้นและเป็นแรงบันดาลใจให้เรา เชื่อมั่นในตัวเองว่า เราสามารถทำสิ่งที่มุ่งมั่นไว้ให้สำเร็จได้ จำไว้ว่า..จงอยู่ให้ห่างคนที่คิดแต่แง่ร้าย ซึ่งจะขัดขวางการเดินหน้าของคุณ ดังพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า “คบคนพาล พาลพาไปหาผิด คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล”
    6. เห็นคุณค่าสิ่งดีๆในชีวิต เมื่อเราพอใจกับทุกเรื่องดีๆที่เกิดขึ้น ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็ตาม มันจะช่วยให้เราขจัดความคิดในด้านลบออกไป การโฟกัสแต่สิ่งดีๆเหล่านี้ จะทำให้อุปสรรคที่เราเผชิญอยู่ กลายเป็นเรื่องเล็กน้อยที่เราจัดการได้ง่ายขึ้น
    7. รู้จักบริหารเวลาอย่างชาญฉลาด อย่าเสียเวลากับเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับสิ่งที่คุณตั้งเป้าไว้ในชีวิต ข้อสำคัญคือ มุ่งทำในเรื่องที่ทำให้ชีวิตของคุณเป็นไปดังที่หวังไว้ ซึ่งจะส่งผลให้คุณมีทัศนคติที่ดี
    8. จินตนาการว่ามีสิ่งดีๆเกิดขึ้น แปลกแต่จริงที่ว่า คนส่วนมากมักชอบวาดภาพเรื่องเลวร้ายกำลังเกิดขึ้น โดยมักจะพูดว่า “ถ้ามันเกิดขึ้น...” จงฝึกนึกถึงเรื่องดีๆกำลังเกิดขึ้น มองเห็นภาพงานที่กำลังทำเดินไปด้วยดี (ไม่ว่าจะเป็นงานที่บ้านหรือที่ทำงาน) และได้รับคำชมจากคนรอบข้างว่า“เยี่ยมมาก” เพราะนั่นจะเป็นกำลังใจให้คุณคิดบวกต่อไป
    9. ความผิดพลาดมีไว้ให้เรียนรู้ มิใช่แส้ที่เอาไว้เฆี่ยนตี ทุกคนล้วนเคยทำผิดทั้งนั้น และถึงแม้ว่าได้พยายามอย่างดีที่สุดแล้ว แต่ก็ยังทำพลาด ขอให้จำไว้ว่า ยังมีโอกาสให้เริ่มต้นใหม่ ความผิดพลาดต่างๆที่ผ่านมาถือเป็นบทเรียน เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข สิ่งที่จะทำต่อไปในอนาคต
    10. อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ถ้ารอบๆตัวเต็มไปด้วยข้าวของวางระเกะระกะ กระจัดกระจายไปทั่วห้อง ลองหาเวลาจัดเก็บ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ซึ่งจะช่วยให้คุณเปลี่ยนมุมมอง ความคิดได้มาก ใครจะมองโลกในแง่ดีได้ ถ้าต้องอยู่ท่ามกลางสภาพสกปรกรกรุงรังตลอดเวลา เพราะสภาพแวดล้อมที่ดี จะช่วยสร้างและเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดทัศนคติด้านบวก
    11. รับข้อมูลข่าวสารที่ดี หมั่นอ่านบทความที่สร้างแรงจูงใจ หรือฟังธรรมะที่กระตุ้นให้รู้สึกตื่นตัว และเกิดปัญญา ซึ่งจะช่วยให้มองโลกและชีวิตได้อย่างเข้าใจ มีความหวัง และความสุข
    12. ให้คำมั่นสัญญากับตัวเอง และบอกตัวเอง ซ้ำๆ เพราะคำมั่นสัญญาดีๆมีผลต่อกระบวนการคิดของตัวเอง เช่น ถ้าคุณมีอาการซึมเศร้าเป็นประจำ คำมั่นสัญญาของคุณก็คือ “ฉันมีความสุข ฉันควบคุมตัวเองได้” บอกตัวเองเช่นนี้หลายๆครั้งในแต่ละวัน แล้วคุณจะรู้สึกถึงพลังความคิดด้านบวกที่เกิดขึ้น
    .........................................

    จะเห็นว่าการที่มนุษย์มีความคิดเชิงบวกแล้ว ผลดีก็คือ

    รู้จักให้อภัยตัวเองและผู้อื่น

    มนุษย์จะสามารถ มองโลกและชีวิตได้อย่างเข้าใจ

    มองอนาคตอย่างมีความหวัง และมีความสุขมากขึ้น

    เกิดแรงบันดาลใจ

    …………………………………………..

วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

กิจกรรมจิตศึกษา เพื่อพัฒนานักเรียน


กิจกรรม Brain Gyms ของพี่ๆชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1
โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองใหญ่ เทศบาลนครขอนแก่น

Brain GYM คือการบริหารสมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวา

กรรไกร ไข่ ผ้าไหม ก็สามารถนำมาเป็นกิจกรรมได้

สนุก สนาน มีความสุขทั้งนักเรียนและครู


เทคนิคการบวก

ผลบวกของจำนวนคี่
 ให้หาตัวกลางของจำนวนที่บวกกันนั้น คูณกับจำนวนที่ให้บวกกันทั้งหมด
ตัวอย่าง เช่น
               97 + 98 + 99 + 100 + 101 =  .............................
               สังเกตพบว่่าจำนวนที่ให้บวกกันนั้นทั้งหมดมี 5 จำนวน และตัวกลางของจำนวนเหล่านี้คือ 99
               ให้เอา 5 คูณ 99  =  495            
   ดังนั้น  97 + 98 + 99 + 100 + 101 =  495
ลองคิดดูเล่นๆ
1.  15 + 16 + 17    =   ..................   (48)
2.  125 + 126 + 127 + 128 129    =  ...................   (635)
3.  63 + 64 + 65 + 66 + 67 + 68 + 69 + 70 + 71  =  ...................   (603)


ผลบวกของจำนวนคู่
  ให้หาตัวกลางของจำนวนที่บวกกันนั้น คูณกับจำนวนที่ให้บวกกันทั้งหมด ซึ่งตัวกลางมี 2 จำนวน ให้เอาตัวกลาง 2 จำนวนนั้นบวกกันแล้วเอา 2 หารได้ผลลัพธ์เท่าไร คูณกับจำนวนที่ให้บวกกันทั้งหมดก็จะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องและรวดเร็ว
ตัวอย่าง เช่น
               97 + 98 + 99 + 100 + 101+ 102  =  .............................
               สังเกตพบว่่าจำนวนที่ให้บวกกันนั้นทั้งหมดมี 6 จำนวน และตัวกลางของจำนวนเหล่านี้คือ (99 + 100)  คูณ 2 = 99.5
               ให้เอา 6 คูณ 99.5  =  597            
   ดังนั้น  97 + 98 + 99 + 100 + 101+ 102  =  597
ลองคิดดูเล่นๆ
1.  15 + 16 + 17 + 18    =   ..................   (66)
2.  125 + 126 + 127 + 128 129 + 130   =  ...................   (765)
3.  63 + 64 + 65 + 66 + 67 + 68 + 69 + 70 + 71+ 72  =  ...................   (675)

วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ใช้เวลาพักผ่อนให้เต็มที่

1.ใช้เวลาพักผ่อนกลางวันให้เต็มที่ เพื่อความพร้อมกับการทำงานในช่วงบ่าย
2. ให้เวลากับการออกกำลังกาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 วัน วันละ 20-30 นาที
3.นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ฝึกนอนและตื่นให้เป็นเวลา
4. หามุมสงบให้ตัวเองบ้าง ปิดโทรศัพท์ ปิดโทรทัศน์ ฯลฯ
5. ใช้เวลาวันหยุดเพื่อการพักผ่อนที่แท้จริง
ุ6. ทำกิจกรรมที่เราหรือคนที่อยู่รอบข้างรู้สึกดี
7. ให้รางวัลกับชีวิตเมื่อทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดสำเร็จ

วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การทำงานเป็นทีม

การทำงานเป็นทีม
 คือ การที่บุคคลหลายคนกระทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จ มีการแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกัน มีความสัมพันธ์กัน และมีจุดประสงค์หรือความคาดหวังร่วมกัน
 
องค์ประกอบของการทำงานร่วมกันเป็นทีม
 
1. ด้านสมาชิกในกลุ่ม กลุ่มจะทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ สมาชิกควรมีคุณสมบัติ ดังนี้
1.1 มีเจตนาที่ดีและตั้งใจทำงาน
1.2 มีทักษะในการทำงานนั้น เชื่อในความสามารถของเพื่อนสมาชิกด้วยกัน
1.3 มีความร่วมมือและประสานงานกันอย่างดีและยอมรับกัน
1.4 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความไว้เนื้อเชื่อใจกัน พยายามเข้าใจพฤติกรรมของบุคคลอื่น
 
2. ด้านประธานกลุ่ม
2.1 กลุ่มควรมีผู้นำที่มีความสามารถ มีคุณสมบัติของผู้นำที่ดี คือ อดทน ตั้งใจฟัง
ไม่หงุดหงิดในความล่าช้าและความไม่ก้าวหน้าของกลุ่ม
2.2 รู้จักนำเอากระบวนการจูงใจมาใช้
2.3 เอาใจใส่ต่อกลุ่ม เพิ่มพูนความรู้ให้แก่สมาชิก
2.4 รู้จักใช้ข้อขัดแย้งเพื่อการสร้างเสริมและสร้างสรรค์ โดยให้ทุกคนเข้าใจว่า
ความขัดแย้งย่อมเกิดขึ้นได้เสมอในกลุ่ม และอาจก่อให้เกิดประสิทธิภาพในองค์การได้
ทำให้เกิดเป้าหมายและวิธีการที่ดีกว่าเดิม
 
3. ด้านการจัดทีมงาน
3.1 มีเป้าหมายกำหนดไว้ชัดเจน
3.2 มีความไว้เนื้อเชื่อใจและยอมรับซึ่งกันและกัน
3.3 มีการสื่อสารระบบเปิด
3.4 มีวิธีการทำงานเป็นระบบ
3.5 มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และมีบรรยากาศส่งเสริมซึ่งกันและกัน
 
แนวทางการสร้างความร่วมมือร่วมใจ
 1. สร้างความเข้าใจในวัตถุประสงค์และเป้าหมายอย่างชัดเจนและแน่นอน
2. มีความยืดหยุ่นในอันที่จะเลือกวิธีปฏิบัติให้เหมาะสมกับงาน
3. จัดให้มีการติดต่อสื่อสารที่ดี
4. มีการกำหนดบทบาทของบุคคลในกลุ่มให้ชัดเจน
5. มีการยอมรับความแตกต่างของบุคคลในกลุ่ม
6. ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมของกลุ่ม
7. มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในวิธีการดำเนินงาน
8. บรรยากาศของกลุ่มเป็นกันเอง ต่างคนต่างเห็นอกเห็นใจและพร้อมจะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
9. มีความยึดเหนี่ยวสู
งในด้านพลังสามัคคีและสามารถเกาะกลุ่มกันได้อย่างมั่นคง
10. มีการทบทวนประเมินผล เพื่อแก้ไขและปรับปรุงผลงานของกลุ่มอยู่เสมอ
 
คุณสมบัติที่จำเป็นสำหรับการสร้างทีมงานที่ดี
 1. มีข้อมูลที่เพียงพอ
2. มีประสบการณ์การทำงานร่วมกับนักสร้างทีมงาน
3. มีความยืดหยุ่น และเปิดเผย
4. มีทักษะในการให้ข้อมูลย้อนกลับ
5. มีความเข้าใจที่เพียงพอเกี่ยวกับทฤษฎีการสร้างทีมงาน
6. มีเป้าหมายที่ชัดเจน
7. มีสถานภาพที่เป็นที่ยอมรับแก่สมาชิก
8. มีการใช้แหล่งทรัพยากรอื่น ๆ
9. มีทักษะในการฝึกทีมงาน
 
หลักปฏิบัติในการทำงานเป็นทีม
 1. ทีมต้องมีอุดมการณ์ที่แน่นอนและสมาชิกทุกคนยอมรับ
2. ถือความถูกต้อง ซึ่งไม่จำเป็นต้องถูกใจ
3. ประนีประนอมกัน โดยมีน้ำใจของความร่วมมือเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมอันเดียวกัน
4. อภัยซึ่งกันและกัน
5. อย่าพยายามเอาเปรียบกัน
6. ถือว่าทุกคนมีความสำคัญเท่ากัน
7. เคารพในสิทธิ์และเสรีภาพส่วนตัวของผู้อื่น
8. อย่าเด่นแต่ผู้เดียว ต้องเด่นทั้งทีม
9. ถือว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นของธรรมดา
10. เมื่อมีปัญหาหรือไม่พอใจอะไร อย่าเก็บไว้หรือนำไปพูดลับหลัง ให้นำปัญหานั้นมาพูดกันให้เข้าใจ
11. รู้จักแบ่งงานและประสานงานกัน
12. มีความเป็นอิสระในการทำงานพอสมควร
13. ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของทีมอย่างเคร่งครัด
14. ยอมรับผิดเมื่อทำผิด
15. เมื่อมีการขัดแย้งกันในกลุ่ม ให้ถือว่าเป็นการมองปัญหาคนละด้าน


ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.dld.go.th/region3/knowledge/linkfile/admin/management/team.html

วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การเสริมแรง

ประเภทของการเสริมแรง
  1. การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) หมายถึง สิ่งของ คำพูด หรือสภาพการณ์ที่จะช่วยให้พฤติกรรมเกิดขึ้นอีก หรือสิ่งทำให้เพิ่มความน่าจะเป็นไปได้ของการเกิดพฤติกรรม
  2. การเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement) หมายถึง การเปลี่ยนสภาพการณ์หรือเปลี่ยนแปลงบางอย่างก็อาจจะทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมได้ การเสริมแรงทางลบเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมใน 2 ลักษณะคือ
    1. พฤติกรรมหลีกหนี (Escape Behavior)
    2. พฤติกรรมหลีกเลี่ยง (Avoidance Beh.)
หลักการและแนวคิดที่สำคัญของการเสริมแรง
  1. การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยการเสริมแรง การเสริมแรงทางบวกจะดีกว่าทางลบ
  2. การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความใกล้ชิดระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง
  3. การเสริมแรงมีหลายวิธี อาจใช้วัตถุสิ่งของ หรือถ้อยคำที่แสดงความรู้สึกก็ได้ ที่สามารถสร้างบรรยากาศกระตุ้นให้ความพึงพอใจให้เกิดความสำเร็จหรือเครื่องบอกผลการกระทำว่าถูกผิด และอาจเป็นการส่งเสริมให้เกิดการเสริมแรงต่อๆ ไป
  4. การเสริมแรงควรจะต้องให้สม่ำเสมอ นอกจากนั้นหลักการเสริมแรงยังทำให้สามารถปรับพฤติกรรมได้
  5. ควรจะให้การเสริมแรงทันที ที่มีการตอบสนองได้อย่างถูกต้อง ซึ่งควรจะเกิดขึ้นภายใน ประมาณ 10 วินาที ถ้าหากมีการตอบสนองที่ต้องการซ้ำหลายครั้งๆ ก็ควรเลือกให้มีการเสริมแรงเป็นบางคราว แทนที่จะเสริมแรงทุกครั้งไป
  6. ควรจะจัดกิจกรรมการเรียนให้เป็นไปตามลำดับจากง่ายไปยาก และเป็นตอนสั้นๆ ที่สอดคล้องกับความสามารถของผู้เรียน
จากการวิจัยเกี่ยวกับการเสริมแรง สกินเนอร์ได้แบ่งการให้แรงเสริมเป็น 2 ชนิดคือ
  1. การเสริมแรงทุกครั้ง คือการให้แรงเสริมแก่บุคคลเป้าหมายที่แสดงพฤติกรรมที่กำหนดไว้ทุกครั้ง
  2. การเสริมแรงเป็นครั้งคราว คือไม่ต้องให้แรงเสริมทุกครั้งที่บุคคลเป้าหมายแสดงพฤติกรรม
สรุปแนวคิดที่สำคัญ
สรุปแนวคิดที่สำคัญของนักจิตวิทยาการศึกษา ดังนี้
  1. ธอร์นไดค์ (Thorndike) ให้ข้อสรุปว่า การเสริมแรง จะช่วยให้เกิดความกระหายใคร่รู้เกิดความพอใจ และนำไปสู่ความสำเร็จ
  2. สกินเนอร์ (Skinner) กล่าวว่า "การเสริมแรง จะเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมซ้ำ และพฤติกรรมของบุคคลส่วนใหญ่ จะเป็นพฤติกรรมการเรียนรู้แบบปฏิบัติ (Operant Learning) และพยายามเน้นว่า การตอบสนองต่อสิ่งเร้าใดๆ ของบุคคล สิ่งเร้านั้นจะต้องมีสิ่งเสริมแรงอยู่ในตัว หากลดสิ่งเสริมแรงลงเมื่อใด การตอบสนองจะลดลงเมื่อนั้น"
  3. กัทธรี (Grthrie) เชื่อว่าการเรียนรู้ จะเป็นผลมาจากสิ่งเร้าและการตอบสนองซึ่งเมื่อเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน สิ่งเร้าทุกอย่างย่อมจะมีลักษณะที่เร้า และก่อให้เกิดพฤติกรรมได้ทั้งหมด ดังนั้นการเสริมแรงไม่จำเป็นต้องนำมาใช้สำหรับการตอบสนอง
  4. ฮัล (Hull) เชื่อว่า การเสริมแรงเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง ม่มีการเรียนใดๆ ที่มีความสมบูรณ์ การเรียนรู้เป็นลักษณะของการกระทำที่ต่อเนื่องกัน จะค่อยๆ สะสมขึ้นเรื่อยๆ การเสริมแรงทุกครั้งจะทำให้การเรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ตารางการเสริมแรง
  1. การเสริมแรงตามอัตราส่วนที่แน่นอน (Fixed-Ratio (FR))
  2. การเสริมแรงตามอัตราส่วนที่ไม่แน่นอน (Variable-Ratio (VR))
  3. การเสริมแรงตามช่วงเวลาที่แน่นอน (Fixed-Interval (FI))
  4. การเสริมแรงตามช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน (Variable-Interval (VI))
วิธีการเสริมแรง
  1. การเสริมแรงแบบทุกครั้ง เช่น การเสริมแรงเกิดขึ้นทุกครั้งที่เด็ก ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร
  2. การเสริมแรงตามช่วงเวลาที่แน่นอน เช่น การเสริมแรงทุกๆ 1 ชั่วโมงหลังจากทำพฤติกรรมไปแล้ว
  3. การเสริมแรงตามช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน เช่น บางทีก็ให้เสริมแรง 1 ชั่วโมง บางทีก็ให้เสริมแรง 2 ชั่วโมง
  4. ครั้งที่แน่นอน เช่น แสดงพฤติกรรมออกกำลังกาย 3 ครั้ง ให้การเสริมแรง 1 ครั้ง
  5. การเสริมแรงตามจำนวนครั้งที่ไม่แน่นอนหรือแบบสุ่ม (Random) คือ บางครั้งก็ให้การเสริมแรง บางครั้งก็ไม่ให้การเสริมแรง

ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

Brain gym การบริหารสมอง

Brain GYM หรือ การบริหารสมอง การบริหารสมองนั้นแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มท่า คือ

1. การเคลื่อนไหวสลับข้าง ( Cross Over Movement)
เป็นท่าที่ช่วยให้การทำงานของสมองสองซีกถ่ายโยงข้อมูลกันได้ เช่น สมองซีกซ้ายสามารถนำจินตนา การ และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์จาก สมองซีกขวามาใช้ช่วยในการอ่าน เขียน และช่วยให้กล้ามเนื้อ ทำงานประสานกันได้ดี การให้เด็กทำท่าเหล่านี้ จะทำให้ทราบว่าเด็กมีปัญหาในเรื่องการทำงาน ประสานกันของตา มือ และเท้าหรือไม่ หากพบจะได้ช่วยเหลือเด็กได้ทันท่วงที
1.1 ยกขาขวางอให้ตั้งฉากกับพื้นพร้อมกับยื่นแขนทั้งสองออกไปด้านหน้า คว่ำมือลงขนานกับพื้น แกว่งแขนทั้งสองไปด้านข้างลำตัว
ตรงข้ามกับขาที่ยกขึ้น แกว่งแขนทั้งสองกลับมาอยู่ที่ด้านหน้า พร้อมกับวางเท้าขวาไว้ที่เดิม เอามือลง เปลี่ยนขา ทำเช่นเดียวกัน

1.2 ก้าวเท้าขวาวางหน้าเท้าซ้าย พร้อมกับยื่นแขนทั้งสองข้างออกไปด้านหน้า มือคว่ำลงขนานกับพื้น แกว่งแขนทั้งสองไปด้านข้างลำตัว ตรงข้ามกับขาที่ก้าวออกไป แกว่งแขนทั้งสองข้างกลับมาอยู่ด้านหน้า พร้อมกับชักเท้าขวาวางที่เดิม เอามือลง เปลี่ยนเท้าทำเช่นเดียวกัน

1.3 ยกขาขวางอไปด้านหลัง พร้อมกับยื่นแขนทั้งสองออกไปด้านหน้า มือคว่ำลง แกว่งแขนทั้งสองไปด้านข้างลำตัวตรงข้ามกับขาที่ยกขึ้น ให้มือซ้ายแตะส้นเท้าขวา แกว่งแขนทั้งสองกลับมาอยู่ด้านหน้า พร้อมกับวางเท้าขวาไว้ที่เดิม เอามือลง เปลี่ยนขา ทำซ้ำเช่นเดียวกัน

1.4 วิ่งเหยาะๆ อยู่กับที่ช้าๆ

1.5 นั่งชันเข่า มือสองข้างประสานกันที่ท้ายทอย เอียงข้อศอกซ้ายแตะที่หัวเข่าขวา ยกข้อศอกซ้ายกลับไปที่เดิม เปลี่ยนเป็นเอียงข้อศอกขวา ทำเช่นเดียวกัน

1.6 กำมือซ้ายขวาไขว้กันระดับหน้าอก กางแขนทั้งสองข้างออกห่างกันเป็นวงกลมแล้วเอามือกลับมาไขว้กันเหมือนเดิม

1.7 กำมือสองข้าง ยื่นแขนตรงไปข้างหน้า ให้แขนคู่กัน เคลื่อนแขนทั้งสองข้างพร้อมๆกัน หมุนเป็นวงกลมสองวงต่อกันคล้ายเลข 8ในแนวนอน
1.8 ยื่นแขนขวาออกไปข้างหน้า กำมือชูนิ้วโป่งขึ้น ตามองที่นิ้วโป่ง ศีรษะตรงและนิ่ง หมุนแขนเป็นวงกลม 2 วงต่อกันคล้ายเลข ในแนวนอน ขณะหมุนแขนตามองที่นิ้วโป้งตลอดเวลา เปลี่ยนแขน ทำเช่นเดียวกัน